ประชุมวิชาการ “ASTHMA AND COPD FOR HEALTHCARE WORKERS”

วันที่ 28 - 29 กรกฎาคม 2559

โรคปอดอุดกลั้นเรื้อรัง (COPD)

            เป็นโรคที่ป้องกันได้และรักษาได้ โดยมีลักษณะเป็น Progressive, not fully reversible airflow limitation ซึ่งเป็นผลมาจากการระคายเคืองเรื้อรังต่อปอด จากสิ่งกระตุ้นต่างๆ ทำให้เกิดการอักเสบขึ้น ทั้งในปอดและระบบอื่นๆ ของร่างกาย ดังนั้นผู้ป่วยที่มีโรคร่วมหรืออาการกำเริบ เฉียบพลัน จะมีผลต่อความรุนแรงของโรค

การวินิจฉัย ประกอบไปด้วย 3 อย่าง

-          อาการ : หายใจเหนื่อยหอบ, ไอเรื้อรัง, มีเสมหะ

-          ปัจจัยเสี่ยง : สูบบุหรี่, อาชีพ, มลภาวะรอบตัว

-          ผลการทดสอบ spirometry : FEV1/FVC < 0.7

การประเมินความรุนแรงของโรค

-          ประเมินจากอาการ

-          ระดับการอุดกลั้นของหลอดลม (ใช้ spirometry). ในผู้ป่วยที่มีค่า FEV1/FVC<0.70:

GOLD 1: mild—FEV1≥80% predicted

GOLD 2: moderate—50%≤FEV1< 80% predicted

GOLD 3: severe—30%≤FEV1<50% predicted

GOLD 4: very severe—FEV1<30% predicted

-          มีความเสี่ยงของการเกิดอาการกำเริบ: the best predictor of having frequent exacerbations (2 or more per year) is a history of previous treated events. The risk of exacerbations also increases as airflow limitation worsens

-          มีโรคร่วม (e.g. cardiovascular diseases, osteoporosis, depression and anxiety, skeletal muscle dysfunction, metabolic syndrome, and lung cancer)

ยาที่ใช้รักษา

ยาขยายหลอดลม

-          ใช้เป็นยาหลักของโรคถุงลมอุดกลั้น เพื่อบรรเทาอาการ เพิ่ม Exercise capacity และ เพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้ป่วย

-          ควรใช้ยาขยายหลอดลมชนิดออกฤทธิ์สั้น เพื่อบรรเทาอาการ แต่ไม่แนะนำให้ใช้เป็นยาควบคุมอาการระยะยาว

-          แนะนำให้ใช้ยาขยายหลอดลมชนิดออกฤทธิ์ยาวในการควบคุมโรค

-          แนะนำให้บริหารยาขยายหลอดลมโดยใช้ชนิดพ่นสูด ไม่แนะนำให้ใช้ชนิดกินหรือฉีด เนื่องจากมีผลข้างเคียงมากกว่า ยกเว้น ในกรณี ไม่มียาชนิดพ่นสูดใช้

-          หากผู้ป่วยไม่สามารถบรรเทาอาการด้วยยาขยายหลอดลมชนิดเดียว แนะนำให้ใช้ยาขยายหลอดลมสองชนิดที่มีฤทธิ์เสริมกัน เช่น Berodual ได้ผลดีกว่าการเพิ่มขนาดยาแต่ละชนิด

Inhaled corticosteroids; ICS

-          ICS ทำให้อาการดีขึ้น เพิ่มคุณภาพชีวิต ลดการกำเริบ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีค่า FEV1<60% predicted

-          การใช้ ICS โดยเฉพาะเมื่อใช้ในขนาดสูง เพิ่มความเสี่ยงในการกิดปอดอักเสบ เมื่อใช้ระยะยาวอาจทำให้มวลกระดูก ลดลง

-          ไม่แนะนำใช้ ICS เป็นยาเดี่ยว โดยไม่มียาขยายหลอดลมชนิดออกฤทธิ์ยาวร่วมด้วย

-          การหยุดยา ICS อย่างฉับพลันอาจมีผลทำให้อาการแย่ลง หรือเกิดกำเริบได้ แต่ในผู้ป่วยที่เสี่ยงกำเริบต่ำ หากต้องการหยุดยา ICS แนะนำให้ค่อยๆหยุดยาลงช้าๆ ร่วมกับการให้ยาขยายหลอดลมชนิดออกฤทธิ์ยาวอย่างเต็มที่

Oral steroids

-          มีประโยชน์เฉพาะในการรักษาการกำเริบเฉียบพลัน ไม่ควรใช้ในการรักษาระยะยาว เนื่องจากมีผลข้างเคียงสูง

Combination LABA/ICS

-          พบว่าการใช้ยาผสม LABA/ICS มีประสิทธิภาพเหนือกว่า LABA หรือ ICS พ่นสูดชนิดเดียว ทำให้สมรรถภาพปอดดีขึ้น และลดการเกิดกำเริบโดยเฉพาะผู้ป่วยกลุ่มรุนแรงปานกลางขึ้นไป FEV1<50% predicted

Methylxanthines

-          พบว่าการใช้ยา Theophylline ในขนาดต่ำ อาจช่วยทำให้หลอดลมตอบสนองต่อ ICS ได้ดีขึ้น

-          ไม่ควรใช้เป็นยารักษาเดี่ยว เพื่อหวังฤทธิ์ขยายหลอดลม เนื่องจากมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงได้ง่าย

Mucolytic

-          อาจใช้เพื่อบรรเทาอาการเสมหะเหนียวเป็นช่วงระยะสั้น แต่ในระยะยาว ยังไม่มีประโยชน์ที่ชัดเจน

-          มีหลักฐานแน่ชัด การใช้ยา N-acetylcysteine ในขนาดสูง (1200 mg/day) เพื่อออกฤทธิ์ anti-oxidant สามารถ ลดอาการกำเริบ ในผู้ป่วย GOLDstage 2  ได้

การป้องกันการกำเริบเฉียบพลันของโรคปอดอุดกลั้น

-          การเลิกบุหรี่

-          การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่

-          โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพปอดภายใน 4 สัปดาห์ หลังการกำเริบเฉียบพลัน

โรคหืด (Asthma)

            เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม และมีความสัมพันธ์กับหลอดลมไวผิดปกติ ต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ มีการตีบของหลอดลมชนิดเป็นๆ หายๆ ละมีมีการตอบสนองต่อยาขยายหลอดลม

การวินิจฉัย

-          ตรวจร่างกาย พบเสียงหวีด (wheezing) ช่วงหายใจออก เหนื่อย ไอ แน่นหน้าอก มักมีอาการแย่ลงในช่วงกลางคืน หรือ รุ่งเช้า อาการมีความแปรปรวนตลอด

-          ตรวจสมรรถภาพปอด มีค่า FEV1/FVC < 0.75-8.0  ประเมินการตอบสนองต่อยาขยายหลอดลม โดยมีค่า FEV1 เพิ่มขึ้นมากกว่า 200 ml และมากกว่า 12% หลังสูดยาขยายหลอดลมชนิดออกฤทธิ์เร็ว 15 นาที และ/หรือ หลังได้ยาควบคุมโรคหืด อย่างน้อย 4 สัปดาห์ หรือการวัด PEF โดยการตอบสนองต่อยาขยายหลอดลม PEF เพิ่มขึ้น 60 ลิตร/นาที หรือเพิ่มมากว่า 20 % หลังได้รับยาขยายหลอดลมพ่นสูด

การพิจารณา เลือกยาที่เป็นตัวรักษาแรกในผู้ป่วย

-          หากมีอาการของโรคหืด หรือใช้ยาสูดขยายหลอดลม ไม่เกิน 2 ครั้ง/เดือน ไม่มีอาการหืดกลางคืน ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการกำเริบเฉียบพลัน และไม่มีการกำเริบเฉียบพลันในรอบปีที่ผ่านมา ไม่จำเป็ฯในการใช้ยาควบคุมโรคหืด

-          หากความถี่มากกว่า 2 ครั้ง/เดือน แต่ไม่เกิน 2 ครั้ง/สัปดาห์ หรืออาการกลางคืนมากว่า 1 ครั้ง/เดือน ให้ยา ICS ขนาดต่ำ

-          หากอาการหืดรบกวนเกือบทุกวัน หรือมีหรืออาการกลางคืนมากว่า 1 ครั้ง/สัปดาห์ และ/หรือมีปัจจัยเสี่ยงต่อการกำเริบเฉียบพลัน อย่างน้อย 1 ข้อ พิจารณาให้ ICS + LABA ขนาดต่ำ

กลุ่มอาการร่วมระหว่างโรคหืด และ โรคปอดอุดกั้น (ACOS)

            เนื่องจากยังไม่แนวทางการวินิจฉัยที่เป็นมาตรฐานในปัจจุบัน การรักษา ACOS ยังไม่มีแนวทางมาตรฐาน อาจพิจารณาใช้ ICS/LABA และ/หรือร่วมกับ long acting anticholinergic drug เป็นแนวทางการรักษา