การบำบัดยาเสพติดและสารเสพติดด้วยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม
( Cognitive Behavior Therapy )
( Cognitive Behavior Therapy ) ( CBT) เป็นการบำบัดรูปแบบหนึ่งที่เน้นการฝึกฝนปรับเปลี่ยนตัวเอง โดยเริ่มต้นการทำให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงความเชื่อมโยง ระหว่างความคิด อารมณ์ และพฤติกรรม มีการตรวจสอบความคิดตามหลักความเป็นจริง
- ผู้บำบัดทำหน้าที่เสมือนพี่เลี้ยง ( Coaching ) ช่วยกระตุ้นให้ผู้เข้ารับการบำบัด ปรับความคิด หรือ อาจเริ่มปรับพฤติกรรม ก่อนได้ในรางราย ซึ่งสุดท้ายผู้ป่วยจะเป็นผู้ใช้ทักษะที่ได้รับการฝึกฝนจากผู้บำบัดมาใช้แก้ปัญหากับตนเองได้ในที่สุด
- คุณลักษณะที่สำคัญของ CBT คือมีลักษณะโครงสร้างชัดเจน ( Structure ) ซึ่งต่างจาก Psychoanalysis เพราะ CBT จะใช้เวลาสั้นกว่า และเน้นที่ปัจจุบัน ไม่ได้ไม่ได้ค้นหาสาเหตุ หรือ ปม ที่มีมาแต่อดีต
- ผู้ที่ถือว่าเป็นบิดาของ CBT ในรูปแบบซึ่งเป็นที่เข้าใจ และนิยมใช้ในปัจจุบัน คือ Aaron.T.Beck ชาวอเมริกา ที่ได้นำส่วนความคิด ( Cognitive ) เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการทำ CBT
เทคนิคการปรับความคิด
1. การตั้งคำถาม ผู้บำบัดจะใช้ทักษะการถามเพื่อทดสอบความมีเหตุผลในกระบวนการคิดของผู้เข้ารับการบำบัด โดยผู้ให้การบำบัดพยายามให้ผู้เข้ารับการบำบัดคิดหาวิธีทางออกด้วยตัวเอง
2. ใช้แบบฟอร์มความคิดอัตโนมัติ เพื่อบันทึกเหตุการณ์ ความคิดอัตโนมัติ ผลที่เกิดขึ้นและการตอบสนองที่ผู้เข้ารับการบำบัดใช้
3. การหันเหความสนใจ การฝึกหันเหความสนใจหรือการพยายามนึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดความสุข อาจช่วยให้สามารถหยุดความคิดทางลบของผู้เข้ารับการบำบัดได้
4. การพิจารณาข้อดี ข้อเสียของการที่จะคงความคิดทางลบนั้นไว้ แล้วให้ผู้เข้ารับการบำบัดลองทำตาม
5. ชี้ให้ผู้เข้ารับการบำบัดเห็นว่าปัญหาไม่ใช่เกิดจากตัวผู้ป่วย และให้พยายามคิดแบบเป็นกลาง ไม่สุดขั้วไปด้านใดด้านหนึ่ง
6. ฝึกให้ผู้เข้ารับการบำบัด แปลการรับรู้ใหม่กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งหากเปลี่ยนมุมมองของการรับรู้จะช่วยให้เกิดความคิดเกี่ยวกับตนเอง ในทางที่ดี และเกิดการเปลี่ยนแปลงได้